20 ม.ค. 2555

บทที่1 การฝึกเหยี่ยวขึ้นมือ


           การฝึกเหยี่ยวให้ขึ้นมือเป็นบททดสอบของทั้งผู้ฝึกและตัวเหยี่ยว  ขั้นตอนในการฝึกเหยี่ยวให้ขึ้นบนมือนั้นมันมีความหมายโดยนัยถึงความผูกพัน  ไว้ใจที่ลูกเหยี่ยวมีให้กับผู้ฝึกเหยี่ยว

      ช่วงจังหวะที่เหมาะกับการฝึกให้เหยี่ยวขึ้นบนมือคือช่วงที่ผู้ฝึกให้อาหารลูกเหยี่ยว  เหยี่ยวที่เหมาะจะเริ่มฝึกควรเป็นลูกเหยี่ยวที่ยืนได้แข็งแรงแล้ว และอยู่ในช่วงที่จะเริ่มพยายามบิน   โดยสังเกตุว่าลูกเหยี่ยวในช่วงนี้พยายามขยับปีกบิน   เป็นช่วงที่เหมาะกับการฝึกขึ้นมือเพราะ ขาเหยี่ยวแข็งแรงสามารถยืนเกาะบนถุงมือได้

     ขั้นตอนการฝึกก็ง่ายๆ ในเวลาที่ผู้ฝึกเหยี่ยวให้อาหารกับลูกเหยี่ยวให้ใส่ถูงมือ และนำชิ้นเนื้อล่อให้เหยี่ยวเห็น  เมื่อเหยี่ยวอยากกินอาหารก็จะพยายามมาเกาะที่ถูงมือของผู้ฝึก  ในขณะล่อชิ้นเนื้อให้ผู้ฝึกเป่านกหวีดหรือผิวปากเพื่อเป็นเครื่องหมายให้เยี่ยวรู้ว่า  ถ้าได้ยินเสียงแบบนี้เหยี่ยวจะได้กินอาหาร  ก่อนการฝึกเหยี่ยวผู้ฝึกควรให้ลูกเหยี่ยวหิวเพื่อที่การฝึกเหยี่ยวจะยอมให้ฝึกโดยง่าย
  
      การจะทำให้ลูกเหยี่ยวมาเกาะที่มือนั้นต้องทำอย่างช้าๆ เพื่อที่เหยี่ยวจะได้ไม่ตกใจและไว้ใจผู้ฝึกว่าอยู่กับผู้ฝึกเหยี่ยวจะปลอดภัยไม่มีอันตราย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น